กองสวัสดิการและพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานสวัสดิการสังคม งานพัฒนาชุมชน งานจัดระเบียบชุมชนงานสังคมสงเคราะห์งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน งานพัฒนาสตรีและเยาวชน งานสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและคนชรา
ผู้ที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพ (ผู้สูงอายุ) ดังนี้
1. เป็นผู้สูงอายุที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน
2. มีสัญญาติไทย
3. ในเดือนตุลาคมของปีที่มีการขึ้นทะเบียน ต้องมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป โดยเป็นผู้ที่เกิดก่อน (ในกรณีที่ในทะเบียนราษฎรไม่ปรากฎ วันที่ และเดือนเกิดให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น)
4. เป็นผู้ที่มีชื่อตามทะเบียนบ้าน อยู่ในเขต อบต.บางแก้ว
5. กรณีผุ้สูงอายุมีความจำเป็นที่ไม่สามารถมาขึ้นทะเบียนได้ด้วยตนเอง ผู้สูงอายุสามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนแทน
6. ไม่เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับบำนาญ ผู้รับเบี้ยยังชีพตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย หรือกรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน เงินค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548
เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนฯ ดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (เฉพาะสาขาบางพลีเท่านั้น)
- กรณีผู้สูงอายุไปเปิดสมุดบัญชีด้วยตนเอง สามารถเปิดที่ธนาคารกรุงไทยได้ทุกสาขา
- กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปเปิดสมุดบัญชีได้ด้วยตนเอง ให้ตัวแทนผู้สูงอายุไปเปิดสมุดบัญชีที่
ธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางพลี เท่านั้น โดยนำเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของผู้สูงอายุและผู้เปิดสมุดบัญชีแทน ไปใช้ในการเปิดสมุดบัญชี
เอกสารแนบการขอรับเบี้ยยังชีพ (ผู้พิการ) ดังนี้
กรณีขอเพิ่มใหม่
1. แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน
2. แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน
3. หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
4. ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ
6. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
7. สำเนาสมุดพกคนพิการ
8. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
9. รูปถ่ายเต็มตัว
กรณีแทนผู้ขาดคุณสมบัติ
1. -แบบหนังสือขอรับความช่วยเหลือให้ประชาชน
2. แบบสอบประวัติเบื้องต้นผู้ได้รับความเดือดร้อน
3. หนังสือศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
4. ผลการประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
5. ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรฯ
6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ
7. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
8. สำเนาสมุดพกคนพิการ
9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
10. สำเนา ใบมรณบัตรผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีเสียชีวิต)/ สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขาดคุณสมบัติ (กรณีย้ายที่อยู่)
เกร็ดชวนรู้
"ผู้สูงอายุ" หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย ดังนี้
อายุ 60 - 69 ปี ให้ได้รับคนละ 600 บาท ต่อเดือน
อายุ 70 - 79 ปี ให้ได้รับคนละ 700 บาท ต่อเดือน
อายุ 80 - 89 ปี ให้ได้รับคนละ 800 บาท ต่อเดือน
อายุ 90 ปี ขึ้นไป ให้ได้รับคนละ 1,000 บาท ต่อเดือน
"คนพิการ" หมายความว่า คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 (เบี้ยยังชีพคนละ 800 บาท/ เดือน)
"ผู้ป่วยเอดส์" หมายความว่า ผู้ป่วยเอดส์ที่แพทย์ได้รับรองและทำการวินิจฉัยแล้ว
(เบี้ยยังชีพคนละ 500 บาท/ เดือน)
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
1. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ อบต.
2. มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
3. ในกรณีที่ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ มีคุณสมบัติเบื้องต้นเหมือนกัน ให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากกว่าหรือผู้มีปัญหาซ้ำซ้อน หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ยากต่อการเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นผู้ได้รับการพิจารณาก่อน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์