เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
สิทธิของผู้สูงอายุ
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2553 เป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุได้รับสิทธิในด้านต่าง ๆ รวมทั้งก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ต่อองค์กรด้านผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไป เช่น เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ขั้นตอนการยื่นคำขอ
ผู้ที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปของปีงบประมาณถัดไป ลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา โดยมีหลักฐานดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
ในกรณีที่มีความจำเป็น ผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ อาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แทนได้
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเบี้ยยังชีพ
- บุคคลซึ่งมีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทยที่ได้ลงทะเบียน และยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
3.ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับ เงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัด ให้เป็นประจำยกเว้นผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548
การสิ้นสุดการได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- ถึงแก่กรรม (ตาย)
- ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์
- แจ้งสละสิทธิการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เบี้ยยังชีพความพิการ
คนพิการ คือ บุคคลที่มีความผิดปกติ หรือมีความบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญา หรือ จิตใจ
คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าทั้งนี้ เพราะคนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในทกๆด้าน แต่ในทุกๆสังคมมิได้มีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเท่าเทียมกันทั้งหมดยังมีบุคคลประเภทหนึ่งซึ่งมีความผิดปกติหรือความบกพร่องทางด้านร่างกาย ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ ทำให้เป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของสังคม ซึ่งเราเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า“คนพิการ”
ขั้นตอนการยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินสวัสดิการเบี้ยยังชีพความพิการ
คนพิการสามารถมาลงทะเบียนยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการด้วยตนเองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลสระประดู่ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. เว้นวันหยุดราชการ พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) บัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการพร้อมสำเนา
จำนวน ๑ ฉบับ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ฉบับ
(๓) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร จำนวน ๑ ฉบับ
ในกรณีที่คนพิการไม่สามารถยื่นคำขอได้เนื่องจากเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือในกรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคำขอรับเบี้ยความพิการด้วยตนเองได้ ให้บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการยื่นคำขอนั้นแทนก็ได้ แต่ต้องนำหลักฐานของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการไปแสดงต่อพนักงานส่วนท้องถิ่นด้วย
การยื่นทำบัตรประจำตัวคนพิการรายใหม่และต่ออายุบัตรคนพิการ
กรณีการยื่นทำบัตรประจำตัวคนพิการรายใหม่และต่ออายุบัตรคนพิการจะต้องนำเอกสารต่อไปนี้ไปด้วย
๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
๒. สำเนาทะเบียนบ้านคนพิการ
๓. รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๒ รูป
๔. เอกสารรับรองความพิการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลเอกชนที่เลขาธิการประกาศกำหนด
๕ กรณีบุคคลอื่นยื่นคำขอแทนคนพิการ ให้นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลนั้น และหลักฐานอื่นที่แสดงให้เห็นว่าได้รับมอบอำนาจจากคนพิการหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนพิการ เนื่องจากเป็นผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการแล้วแต่กรณี
เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
การขอเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
คุณสมบัติผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ (คนละ 500 บาท/เดือน)
1. ต้องเป็นผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ปรากฏอาการ และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน
2. ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะดูแล ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
3. มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตจริง
4. ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหาร
หลักฐานการรับความช่วยเหลือ
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ปรากฏอาการ